หมอลำ ทำนองสนุกสนาน เล่นเรื่องอีสาน สืบสานวัฒนธรรม

หมอลำ

วัฒนธรรมดนตรีของทางอีสาน มีท่วงทำนองที่สนุกสนานและเป็นศิลปะที่เกิดจากการการดำเนินชีวิตของชาวอีสาน และขนบธรรมเนียมประเพณีต่างๆ ทำให้เกิดการฟ้อนรำต่างๆมากมาย ทั้งเซิ้ง รำฟ้อน หรือแม้กระทั่งหมอลำ  โดยในวันนี้เราจะมาพูดถึงหมอลำกันว่า เป็นการแสดงแบบไหนและมีความเป็นมาอย่างไรบ้าง

            หมอลำ แบ่งได้หลายประเภทตามท่วงทำนองของดนตรี เช่น ลำกลอน ลำเต้ย ลำเรื่อง หรือว่าลำเรื่องต่อ โดยหมอลำ โดยการเกิดขึ้นหมอลำเกิดจากการเล่านิทานของคนเฒ่าคนแก่  และมีการออกท่าทางในการเล่าโดยสมมติคนนั้นคนนี้เป็นพระเอก ตัวโกงต่างๆ และมีการเพิ่มความตื่นเต้นของเนื้อเรื่องด้วยการใช้เสียงสูงต่ำของผู้เล่าและยังมีการใช้ดนตรีพื้นถิ่นของอีสานเป็นส่วนประกอบ ทำให้เกิดความสนุกสนาน จะมีแต่ผู้ชายอย่างเดียวคงน่าเบื่อ เลยต้องมีผู้หญิงเข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้เกิดเนื้อเรื่องต่างๆมากมายและหมอลำก็มีวัฒนาการเปลี่ยนไปเรื่อยๆ จนกลายมาเป็นหมอลำกลอนซิ่งในปัจจุบัน ส่วนหมอลำหมู่เป็นหมอลำเพลินที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงและมีอุปกรณ์ประกอบ ทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจัง มีเครื่องดนตรีประกอบ คือพิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง เป็นต้น และเนื้อเรื่องอาจดำเนินค่อนข้างช้าแต่ก็ถือว่าได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน ผู้สูงอายุจึงชื่นชอบการแสดงหมอลำประเภทนี้อย่างมาก แต่ต่อมาไดมีดนตรีลูกทุ่งมาเพิ่มให้หมอลำหมู่มีความสนุกเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จึงได้รับความนิยมขึ้นมานั่นเอง

 เป็นหมอลำเพลินที่มีผู้แสดงครบหรือเกือบจะครบตามจำนวนตัวละครในเรื่องที่ดำเนินการแสดงและมีอุปกรณ์ประกอบ ทั้งฉาก เสื้อผ้าสมจริงสมจัง มีเครื่องดนตรีประกอบ คือพิณ (ซุง หรือ ซึง) แคน กลอง เป็นต้น และเนื้อเรื่องอาจดำเนินค่อนข้างช้าแต่ก็ถือว่าได้อรรถรสของละครพื้นบ้าน ผู้สูงอายุจึงชื่นชอบการแสดงหมอลำประเภทนี้อย่างมาก แต่ต่อมาไดมีดนตรีลูกทุ่งมาเพิ่มให้หมอลำหมู่มีความสนุกเพิ่มขึ้นอีกครั้ง จึงได้รับความนิยมขึ้นมานั่นเอง

            จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันนี้ยังคงมีการแสดงหมอลำอย่างสม่ำเสมอ ทำให้คนทุกภาคในประเทศได้มีโอกาสดูการแสดงหมอลำ และรู้จักเพลงสำเนียงอีสานมากยิ่งขึ้น เรียกได้ว่าเป็นการแพร่กระจายวัฒนธรรมของชาวอีสาน ให้คนทั้งประเทศได้รู้จัก และบางคนที่ไม่ใช่คนอีสานก็มีโอกาสได้เรียนรู้ในวัฒนธรรมอีสาน และเกิดความชื่นชอบนำไปร้องเล่นหรือนำไปร้องประกวด ก็มีมากมาย เพราะว่าเพลงหมอลำเป็นเพลงที่สนุกสนาน สามารถประยุกต์ใช้ได้หลายสไตล์ด้วย ทำให้เกิดหมอลำรุ่นใหม่จำนวนมาก รวมทั้งยังมีบทเพลงหมอลำร่วมสมัยเกิดขึ้น ทำให้ทุกเพศทุกวัยเข้าถึงบทเพลงหมอลำได้ง่ายยิ่งขึ้น

            อย่างไรก็ตาม ถึงแม้เพลงหมอลำจะเปลี่ยนไปเป็นเพลงร่วมสมัยมากขึ้น แต่ก็อยากให้คงเอกลักษณ์ของความเป็นหมลำเอาไว้ด้วย เพื่อให้ลูกหลานชาวอีสานเกิดความรักในศิลปะพื้นบ้านของภาคอีสานมากที่สุด และช่วยกันสืบทอดเพลงหมอลำนี้ส่งต่อไปยังอีกรุ่นหนึ่งด้วยความภาคภูมิ

Posted in Art