การฟ้อนพื้นบ้านของอีสานนั้น มีหลายรูปแบบมาก แต่ละรูปแบบจะมีความแตกต่างกันออกไปตามพื้นถิ่นของภาคอีสานเอง โดยจะมีอิทธิพลของกลุ่มชนพื้นเมืองเข้ามาเกี่ยวข้อง เช่น ทางอีสานใต้จะมีอิทธิพลของเขมรปนอยู่ ทางเหนือจะได้รับอิทธิพลจากทางล้านช้าง เป็นต้น แต่ละท้องถิ่นจึงมีวัฒนธรรมการฟ้อนที่ต่างกันไป โดยวันนี้เราจะมาพูดถึงเรื่องของการฟ้อนแคนกันบ้างว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

            ชาวอีสานชอบเรื่องการรื่นเริงเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว และมีการทำเครื่องดนตรีที่แตกต่างกันไปและยังมีเครื่องดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์ด้วย โดยกลุ่มวัฒนธรรมของชาวอีสานจะแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ 1 หมอลำแคน ชนกลุ่มใหญ่ทางอีสานเหนือ ครอบคลุมจังหวัด เลย หนองคาย อุดรธานี สกลนคร นครพนม ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม กาฬสินธุ์ มุกดาหาร อำนาจเจริญ ยโสธร และอุบลราชธานีและกลุ่มที่ 2 คือ กลุ่มเจรียง พวกนนี้จะเน้นที่กันตรึม โคราช อยู่ในแถบอีสานใต้ เช่น สุรินทร์ ศรีสะเกษ บุรีรัมย์ เป็นต้น

                เซิ้งแคน คือ การฟ้อนประกอบการเป่าแคน โดยใช้ทั้งชายและหญิงในการฟ้อน ฝ่ายชายจะเป่าแคนและเกี้ยวพาราสีฝ่ายหญิง การฟ้อนแคนจะเป็นอิสระในแต่ละคู่ จึงทำให้ดูแปลกตาและน่าสนใจอย่างมาก และทางกรมศิลปากรได้จัดทำชุดฟ้อนโดยการใช้ทำนองลาวดวงเดือนและออกซุ้มลาวแพน และทาง อาจารย์ชัชวาลวงษ์ประเสริฐ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาสารคาม ได้ประดิษฐ์ชุดฟ้อนโดยอาศัยแคน เป็นส่วนประกอบ เพื่อทำให้เห็นความสัมพันธ์ในภาคอีสาน รวมทั้งสื่อถึงวัฒนธรรมล้านช้างที่ได้รับการสืบทอดต่อมา จนกลายมาเป็นฟ้อนเซิ้งแคนที่ใช้ทำนองเซิ้งบั้งไฟ เพลงลาวดวงเดือนและออกซุ้มลาวแพนในที่สุด

สำหรับเครื่องแต่งกายในการเซิ้งแคน ฝ่ายหญิงจะใส่เสื้อแขนกระบอก นุ่งซิ่นพื้นเมือง ห่มสไบ ผมเกล้ามวยทัดดอกไม้ ส่วนฝ่ายชายสวมเสื้อคอกลม และนุ่งโจงกระเบนลายผ้าขาวม้าและใช้คาดเอวด้วยส่วนเครื่องดนตรีจะใช้ท่วงทำนองแบบเซิ้งบั้งไฟ เพลงลาวดวงเดือนและออกซุ้มเพลงของลาวแพน

ฟ้อนชุดเล่นสาวเป่าแคน เป็นประเพณีในการไปเล่นสาวหรือเว้าสาวของทางอีสานในช่วงประเพณีลงข่วง ในช่วงนี้หญิงสาวอีสานจะมารวมตัวกันและเข็นฝ่ายในช่วง 1-2 ทุ่ม แต่พอช่วง 3-4 ทุ่ม ชายหนุ่มจากในหมู่บ้านหนือต่างหมู่บ้านจะมีการเล่นพิณ เป่าแคนเข้ามา เพื่อแยกย้ายไปคุยสาวที่ตัวเองชอบ เรียกกันว่า เว้าสาว และใช้การสนทนาเกี้ยวพาราสีที่เรียกว่า ผญาเครือ

            เครื่องแต่งกาย ฝ่ายหญิงจะใส่ชุดผู้ไท เป็นเสื้อดำขลิบแดง แขนกระบอก ผ่าหน้านุ่งซิ่นที่มีความยาวกรอมเท้า ห่มสไบเฉียงด้านขวา เกล้าผมผูกผ้าแดง  ฝ่ายชายจะถือแคน และสวมเสื้อคอกลม                ผ่าหน้าแขนสั้นสีดำขลิบแดง นุ่งโจงกระเบนทิ้งชายด้านหนึ่งและมัดผ้าแดงที่หัว และจะใช้เครื่องดนตรีพื้นเมืองอีสานท่วงทำนองแบบผู้ไท ฝ่ายชายมีอุปกรณ์ประกอบการแสดงคือ แคน

และนี่คือ ประเภทของการฟ้อนแคน ศิลปะภาคอีสานที่คนรุ่นหลังควรสิบส่านไว้ เพื่อคงเอกลักษณ์ของความเป็นอีสานไว้นั่นเอง